สารสำคัญและสรรพคุณของเห็ดหลินจือ แด๊กซิน

สรรพคุณ เห็ดหลินจือแดง รากและดอก 6 สายพันธุ์ แด๊กซิน
เห็ดหลินจือ ประกอบด้วยสารที่มีผลต่อการบำบัดโรคหลายชนิด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.สารประเภทที่ละลายในน้ำ 30%
2.สารละลายอินทรีย์ (ไม่ละลายในน้ำ) 65%
3.และสารระเหย 5%
สารสำคัญ ในดอกเห็ดหลินจือแดง (Ganoderma Lucidum)
-โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) เป็นสารสำคัญในเห็ดหลินจือที่จะช่วยเสริมการทำงานของร่างกายกล่าวคือ
1. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
2. ต้านมะเร็ง ป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็ง
3. ช่วยปรับปรุงการทำงานของตับอ่อน
4. มีสารกาโนเดอแรนส์ (Ganoderans) ช่วยลดน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะที่สมดุล
5. มีเบต้าดีกลูแคน (Beta-D-Glucan) กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้มีการเพิ่มของอิมมูโนโกลบูลิน อินเตอร์ลิวคิน และอินเตอร์เฟอรอน เพิ่มประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันโรคในการต่อต้านเชื้อไวรัสและเซลมะเร็ง
6. ช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย
– เยอร์มาเนียม (Germanium) เป็นสารที่สามารถละลายในน้ำได้ เรารู้จักเยอร์มาเนียมกันดีในว่า
เป็นสารสำคัญของโสม ที่ช่วยบำรุงร่างกายและรักษามะเร็ง เยอร์มาเนียมที่อยู่ในโสมมีประมาณ
250- 320 ppm (ppm คือ 1 ต่อ1 ล้านส่วน) ส่วนในดอกเห็ดหลินจือมีเยอร์มาเนียมมากถึง
800-2,000 ppm และในรากเห็ดหลินจือมีเยอร์มาเนียมมากถึง 6,000 ppm สารเยอร์มาเนียมมีประโยชน์ ต่อร่างกายดังนี้
1. เพิ่มออกซิเจนในเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงดูดซับออกซิเจนได้มากขึ้น
2. ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
3. บำรุงสมอง บำรุงประสาท
4. รักษามะเร็ง
5. ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
6. กำจัดสารพิษ
– ไตรเตอร์ปีนอยต์ (Triterpenoids) เป็นสารละลายอินทรีย์(ไม่ละลายในน้ำ) มีรสขม
1. บำรุงตับ รักษาตับ
2. ต้านมะเร็ง
3. ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ
4. ควบคุมภูมิแพ้
5. ลดคอเลสเตอรอล ปรับไขมันในร่างกายให้ปกติ
6. เสริมสร้างระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น
7. กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว
– นิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) ชะลอการก่อตัวของเกร็ดเลือดและละลายลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด และระบบประสาท
– อาดีโนซีน (Adenosine) เป็นสารละลายอินทรีย์(ไม่ละลายในน้ำ)
1. ลดคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด ป้องกันหัวใจขาดเลือด
2. ปรับความแข็งแรงให้แก่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง
3. เสริมสร้างฮอร์โมนในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
4. ช่วยในการขจัดสารพิษและสร้างสมดุลย์ให้แก่ร่างกาย
– สารกาโนเดอริก (Ganoderic Essence) ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือดและป้องกันการอุดตันของไขมันภายในเส้นเลือด
– อัลคาลอยด์(Alkaloids) เป็นสารตัวหนึ่งที่พบว่ามีฤทธิ์ ในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ ลดแรงต้านทานในผนังของเส้นเลือดหัวใจ ลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ และเพิ่มความทนทานต่อภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานได้
– กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวไม่มีสี มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน
– โปรตีน (Lz-8) ช่วยในการควบคุมโรคเบาหวาน ไวรัสตับบี ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานปกติ
– กรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acids) หลินจือจััดว่าเป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์ เพราะมี
กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน จากการตรวจสอบปริมาณและอัตราส่วนของกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ
จากสารสกัดหลินจือโดยสถาบันวิจัยโครงสร้างแห่งชาติของจีนพบว่ามีคุณสมบัติและมาตรฐาน
ใกล้เคียงกับโปรตีนชนิดสมบูรณ์ที่กำหนดโดยองค์การอาหารและการเกษตร (FAO) และองค์การ
อนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ(WHO)
สารสำคัญ ในรากเห็ดหลินจือ(Excelium)
รากเห็ดหลินจือ (Excelium) มีสเปคตรัมวิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วน และมีส่วนประกอบของ
โพลีแซคคาไรด์ และสารเยอร์มาเนียม มากกว่าในดอกเห็ดหลินจือ( Ganoderma Lucidum) ถึง 4 เท่า ปริมาณเยอร์มาเนียมที่อยู่ในรากเห็ดหลินจือมีมากถึง 6,000 ppm
– สเปคตรัมวิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วน
– โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ปรับปรุงการทำงานของตับอ่อน ปรับระดับน้ำตาลในเลือด ขจัดสารพิษ
– เยอร์มาเนียม (Germanium) ช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงดูดซับออกซิเจนได้มากขึ้นบำรุงสมอง บำรุงประสาท ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย รักษามะเร็ง และกำจัดสารพิษ
สรุป
จากการทดสอบสารสำคัญที่พบในเห็ดหลินจือจากประเทศต่าง ๆ พบว่าสารสำคัญเหล่านี้มีคุณสมบัติ
ที่เป็นประโยชน์ ต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคตับ ไวรัสตับ โรคไตวาย โรคคอเลสเตอรอลสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกันโรค stroke เห็ดหลินจือจึงเป็นความหวังของผู้ป่วยที่ใช้ทดแทนหรือใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันบางอย่าง และใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย เนื่องจากมีคุณสมบัติเห็ดหลินจือที่สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ และมีความปลอดภัยสูง
อ้างอิง
หนังสือ “หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า ” โดย นพ.บรรเจิด ตันติวิท
หนังสือ หลินจือ คัมภีร์ หลินจือ รากและดอก 6 สายพันธุ์ โดย. เภสัชกร นิติโตชนันท์ คู่มือรับประทานเห็ดหลินจือและสรรพคุณออกฤทธิ์ทางยา ของ บริษัท แด๊กซิน (ประเทศไทย) จำกัด