การมอบของขวัญถือเป็นสุนนะฮ์ของท่านศาสดามูฮัมหมัด ﷺ ซึ่งแสดงถึงความรัก, ความสนิทสนม, และความเมตตา การให้ของขวัญสามารถทำให้คนที่ห่างไกลได้ใกล้ชิดกันอีกครั้ง, เชื่อมความสัมพันธ์ที่ขาดหาย, และยังเป็นวิธีหนึ่งในการเปิดใจของผู้อื่นให้ยอมรับการดะวะห์คำเชิญสู่ศาสนาอิสลาม. นอกจากนี้ การให้ของขวัญหรือสิ่งของด้วยความสมัครใจยังถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ ตะกาฟุล (การช่วยแบ่งเบาภาระ) และ ตะอาวุน (การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน) อีกด้วย.
ท่านศาสดามูฮัมหมัด ﷺ สนับสนุนการมอบของขวัญแก่กัน.
ท่านศาสดา ﷺ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการให้ของขวัญในหะดีษที่รายงานโดยท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ –เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า:
تَهَادُوا تَحَابُّوا
“พวกท่านจงมอบของขวัญแก่กัน แล้วพวกท่านจะนำมาซึ่งความรักกันและกัน”
(ฮะดีษนี้ได้รับการพิจารณาว่า “หะซัน” โดยอัล-อัลบานี ในหนังสือ Shahih Al-Adab Al-Mufrad / صحيح الأدب المفرد
ของอิหม่ามอัลบุคอรี หมวดว่าด้วยการรับของขวัญ)
คำแนะนำของท่านศาสดา ﷺ ได้ถูกปลูกฝังโดยเหล่าศอฮาบะฮฺให้กับลูกหลานของพวกเขา,
ในบรรดาคำแนะนำเหล่านี้ มีคำกล่าวของท่านอนัส –เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ที่กล่าวว่า:
يَا بُنَيَّ تَبَاذَلُوْا بَيْنَكُمْ فَإِنَّهُ أَوَدُّ لِمَا بَيْنَكُمْ
“ลูกเอ๋ย จงมอบของขวัญแก่กัน เพราะการกระทำดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความรักและความเมตตาระหว่างพวกเจ้าให้มั่นคงยิ่งขึ้น”
(รายงานนี้ได้รับการพิจารณาว่า “เศาะหิฮฺ อัลอิสนาด” โดยอัล-อัลบานี ในหนังสือ Shahih Al-Adab Al-Mufrad
พบหลักฐานมากมายที่สนับสนุนให้มุสลิมมอบของขวัญและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
มีหลักฐานมากมายที่ส่งเสริมให้ชาวมุสลิมปฏิบัติ تَهَادِي ตะฮาดี (การมอบของขวัญแก่กัน), تَبَاذُل ตะบาซุล (ให้ของขวัญซึ่งกันและกัน), ตะกาฟุล (การช่วยเหลือแบ่งเบาภาระ), และ ตะอาวุน (การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน).
คำสอนของท่านศาสดา ﷺ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากชาวมุสลิม. มีหลายโรงเรียนที่ต้องการปลูกฝังความรักและความเมตตาในหัวใจของนักเรียน พร้อมทั้งขจัดพฤติกรรมทางสังคมที่เป็นลบ โดยการจัดกิจกรรม ‘การมอบของขวัญแก่กัน’ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชุมชนหลายแห่งที่ต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ อุคูวะฮ์ (ความเป็นพี่น้องในศาสนา) ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม และได้ดำเนินกิจกรรมในลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน.
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ปฏิบัติตาม “สุนนะฮ์ของท่านศาสดา” (สุนนะฮ์ในการมอบของขวัญแก่กัน) อาจรู้สึกกังวลเล็กน้อย.
เนื่องจากมีมุมมองหนึ่งที่กล่าวว่าการปฏิบัตินี้อาจเข้าข่าย مُعَاوَضَة มุอาวะเฏาะฮ์ (การแลกเปลี่ยน) และมีความเกี่ยวข้องกับ غرر ฆ่อเราะร์ (ความไม่แน่นอน) ในขณะที่การปฏิบัติ มุอาวะเฏาะฮ์ เช่น การซื้อขายหรือการเช่า จะต้องมีความชัดเจนและไม่ควรมีองค์ประกอบของความไม่แน่นอนหรือความไม่ชัดเจน (ฆ่อเราะร์) อยู่ในนั้น.
การทำความเข้าใจปัญหา
การให้ของขวัญในรูปแบบกิจกรรมที่จัดขึ้นในโรงเรียนหรือชุมชน มักถูกเรียกว่า การแลกเปลี่ยนของขวัญ, คำเรียกนี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจว่ากิจกรรมดังกล่าวมีลักษณะของการแลกเปลี่ยน (มุอาวะเฏาะฮ์), เนื่องจากเป็นการแลกเปลี่ยน จึงต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจน เช่น شفافية ชะฟาฟิยะฮ์ (ความโปร่งใส) และ معينة มุอัยยันนะฮ์ (การกำหนดที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง).
เงื่อนไขเหล่านั้นไม่ได้ถูกปฏิบัติในกิจกรรมการแลกเปลี่ยนของขวัญ,
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อของขวัญที่แลกเปลี่ยนนั้นถูกห่อในรูปแบบของขวัญ. ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ทราบว่า “สิ่งที่กำลังแลกเปลี่ยนคืออะไร” ส่งผลให้หลายคนรู้สึกผิดหวังเมื่อได้รับของขวัญที่ไม่ตรงกับความคาดหวังของตนเอง.
อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เนื่องจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนของขวัญนี้ดำเนินการผ่านการจับฉลาก,
มีบางคนชี้ว่า กิจกรรมนี้อาจเข้าข่าย قمار กิมาร (การพนันที่มีลักษณะการคาดเดา) โดยผู้เข้าร่วมทั้งหมดถูกมองว่ากำลังคาดหวังว่าจะได้รับบางสิ่งที่ต้องการผ่านการจับฉลากนั้น. และอีกครั้ง, มีบางคนที่รู้สึกผิดหวังเมื่อไม่ได้สิ่งที่คาดหวังไว้ และรู้สึกเหมือนเป็นฝ่ายแพ้.
อย่างไรก็ตาม, มีบางมุมมองที่มองไปที่คำว่า ‘ของขวัญ’.
ของขวัญ, ถือว่าเป็นการให้ด้วยความสมัครใจ (ตะบัรรุอฺ). และจัดอยู่ในประเภทของกิจกรรมทางสังคม ไม่ใช่การค้าขายหรือธุรกิจ. ตะบัรรุอฺ แตกต่างจาก มุอาวะเฏาะฮ์ (การแลกเปลี่ยน). โดยในมุอาวะเฏาะฮ์จะต้องไม่มี غرر ฆ่อเราะร์ (ความไม่แน่นอน), ยกเว้นในกรณีที่มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น. แต่ในตะบัรรุอฺ ความไม่แน่นอนไม่ได้ถือเป็นปัญหา.
ดังนั้น ในมัซฮับมาลิกียะฮ์จึงมีหลักเกณฑ์ที่ว่า:
الغرر في عقود المعاوضات دون التبرعات
“ฆ่อเราะร์ที่ส่งผลต่อข้อบัญญัตินั้น จะมีผลในสัญญาแลกเปลี่ยนเท่านั้น แต่ไม่ส่งผลในตะบัรรุอฺ (เพื่อสังคมและการทำความดี).”
ดังนั้น หากมีการบริจาคหรือการให้ด้วยความสมัครใจที่ถูกห่อไว้, และผู้รับไม่ทราบว่าข้างในคืออะไร ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตได้.
มุอาวะเฏาะฮ์ ซึ่งถือเป็นสัญญาธุรกิจ.
จะดำเนินการเพื่อหากำไรและผลประโยชน์. ในขณะที่ในการพนัน, ผู้เล่นจะทำการคาดเดาและหวังว่าจะเป็นผู้ชนะ แต่ใน ตะบัรรุอฺ, ไม่มีเจตนาในการหากำไร และไม่มีการคิดถึงคำว่า “ชนะ” เช่นเดียวกับในการพนัน.
การทำความเข้าใจสาระสำคัญ
มีรายงานจากท่านอาบูมูซา อัลอัชอารี –เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ– ท่านกล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด ﷺ ได้กล่าวว่า:
“إِنَّ الأَشْعَرِيِّينَ إِذَا أَرْمَلُوا فِي الغَزْوِ، أَوْ قَلَّ طَعَامُ عِيَالِهِمْ بِالمَدِينَةِ، جَمَعُوا مَا كَانَ عِنْدَهُمْ فِي ثَوْبٍ وَاحِدٍ، ثُمَّ اقْتَسَمُوهُ بَيْنَهُمْ فِي إِنَاءٍ وَاحِدٍ بِالسَّوِيَّةِ، فَهُمْ مِنِّي وَأَنَا مِنْهُمْ”
ความหมาย:
ความว่า “ชาวอัชอะรียฺ (เผ่าที่มาจากเยเมนเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองมะดีนะฮฺ ) เมื่อออกไปทำสงคราม และเสบียงหรืออาหารของครอบครัวเขาในเมืองมะดีนะฮฺน้อยลง สมาชิกของเผ่าจะรวบรวมอาหารและทรัพย์สินของพวกเขาทั้งหมดมากน้อยต่างกันมารวมเป็นกองเดียวกัน แล้วนำส่วนที่รวบรวมมาแบ่งกันอย่างเสมอภาค” ท่านนบี ยกย่องชนเหล่านี้ ว่า “ชนเหล่านี้แหละเป็นพรรคพวกของฉัน และฉันก็เป็นพรรคพวกของเขา”
(รายงานโดยอัล-บุคอรีในบทเกี่ยวกับการร่วมกันแบ่งปันอาหาร, การช่วยเหลือ, และสิ่งของต่างๆ; และรายงานโดยมุสลิมในบทเกี่ยวกับความดีงามของอาชารีย์)
รายงานข้างต้นบรรยายถึงการปฏิบัติการช่วยเหลือร่วมกัน (التَّعَاوُنُ الجَمَاعِي ตะอาวุน ญามาอี)
เพื่อให้การช่วยเหลือกันในเรื่องความต้องการร่วมกัน นี่คือตะบัรรุอฺ تَبَرُّع (การบริจาค), ที่ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดและไม่มีการกำหนดจำนวนที่แน่นอน เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของการปฏิบัตินี้คือการช่วยเหลือและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน, รวมถึงการทำความดี, ไม่ใช่การหากำไรหรือธุรกิจ, ดังนั้นจึงไม่มีการคิดถึง ฆ่อเราะร์, ริบา, หรือ การพนัน ในการปฏิบัตินี้.
อิบนุหะญัร –รอฮีมะฮุลลอฮ์– กล่าวในหนังสือฟัตหุลบารีว่า
“การให้สิ่งที่ไม่แน่นอน (ไม่เจาะจง, คลุมเครือ) และการให้ความสำคัญกับผู้อื่น (الإيثَار) รวมถึงการช่วยเหลือ เป็นสิ่งที่อนุญาต” ถึงแม้จะมีบางคนที่ให้สิ่งน้อยแต่ได้รับส่วนมากจากสิ่งที่เขาให้ หรือในทางกลับกัน ก็ตาม ดังนั้น เจตนาของการช่วยเหลือและการทำความดีทำให้สิ่งที่ไม่อนุญาตในทางปฏิบัติของ مُعَاوَضَة มุอาวะเฏาะฮ์ (การแลกเปลี่ยน) กลายเป็นสิ่งที่อนุญาตได้.
รายงานอื่นกล่าวไว้ว่า ท่านญะบิร บิน อับดุลลอฮฺ (รอดิยัลลอฮุอันฮุมา) กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ็อลฯ) ได้ส่งกองทัพจำนวน 300 นายไปยังพื้นที่ชายฝั่ง ท่านรอซูลุลลอฮฺได้แต่งตั้งอบูอุบัยดะฮฺ บิน อัล-ญัรรอฮฺให้เป็นผู้นำของพวกเขา จาบิรกล่าวว่า “พวกเราออกเดินทางจนกระทั่งเสบียงในระหว่างทางหมดลง อบูอุบัยดะฮฺจึงสั่งให้กองทัพทุกคนรวบรวมเสบียงที่มีอยู่ ข้าพเจ้า (ญะบิร) มีอินทผลัมเป็นเสบียงของข้าพเจ้า พวกเรากินมันวันละเล็กละน้อยจนกระทั่งหมด เหลือเพียงกินอินทผลัมครั้งละลูก ครั้งละลูก…” (รายงานโดยอัลบุคอรีในบทว่าด้วยการร่วมใช้เสบียง อาหาร และของใช้)
การปฏิบัติที่อบูอุบัยดะฮฺริเริ่มข้างต้นเป็นรูปแบบของ ตะกาฟุล และ ตะอาวุน ซึ่งแต่ละทหารจะรวบรวมสิ่งที่ตนมีอยู่ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย จากนั้นอาหารที่รวบรวมมาได้นั้นจะถูกแบ่งให้กับทหารทุกคน ในรายงานดังกล่าวไม่มีการพูดถึง ฆอเราะร์ (ความไม่แน่นอน), ริบา (ดอกเบี้ย), หรือ การพนัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การทำสัญญาแลกเปลี่ยนเสียหาย. ท่าน البلتاجي อัลบัลตาญี ได้กล่าวในหนังสือ عقود التامين من وجهة الفقه الاسلامي (อุกูด อัตตะอ์มีน) ว่าปัญหานี้ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจหรือการแสวงหากำไร แต่เป็นการแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร และแน่นอนว่าในหมู่พวกเขาจะมีบางคนที่ได้รับส่วนแบ่งอาหารมากกว่าหรือน้อยกว่าที่พวกเขามอบให้.
รายงานทั้งสองและหลักฐานอื่นๆ เกี่ยวกับการให้ของขวัญ แสดงให้เห็นว่าการมอบของขวัญหรือการให้แก่กันและกันนั้นตั้งอยู่บนหลักการของ ตะบัรรุอ์ (ความดี ความมีน้ำใจทางสังคม) และใน ตะบัรรุอ์, ตะกาฟุล, ตะอาวุน, ตะฮาดีย์ (การให้ของขวัญแก่กัน), تَبَاذُل ตะบาซุล (การแลกเปลี่ยนของกันและกัน) ไม่ได้มีเงื่อนไขว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องให้สิ่งของที่มีมูลค่าเท่ากันหรือต่างกัน เช่นเดียวกันกับสิ่งที่แต่ละฝ่ายได้รับ จะได้รับมากหรือน้อยกว่าสิ่งที่พวกเขาให้ไปก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขของความชอบธรรมในทางปฏิบัติหรือในสัญญาของ ตะบัรรุอ์.
ตามที่ท่านสุวัยลิมซึ่งได้อ้างอิงจากดร.อับดุลลอฮฺ บิน มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ อัลอุมรานี ( د. عبد الله بن محمد بن عبد الله العمراني) อ้างถึงในหนังสือ อัลอุกูด อัลมาลียะฮฺ อัลมุรรักกะบะฮฺ (العقود المالية المركبة) ได้กล่าวว่า อัตตะบัรรุอ์ อัลมุตะบาดิล (التبَرُّ عُ المُتَبادِل) (การให้ซึ่งกันและกัน) ไม่ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบของ มุอาวะเฎาะฮฺ (การแลกเปลี่ยน) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะแต่ละฝ่ายไม่ได้มีเจตนาที่จะทำกำไรหรือได้รับสิ่งตอบแทนที่ดีกว่า แต่เป้าหมายของพวกเขาคือ ตะอาวุน (การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน) ซึ่งอาจมีบางคนในหมู่พวกเขาได้รับมากหรือน้อยกว่าสิ่งที่พวกเขามอบให้ แต่ทั้งหมดนั้นทุกคนต่างอยู่บนพื้นฐานของความพึงพอใจร่วมกันและยินดีในการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน.
ข้อสรุปและการปรับแก้
เมื่อพิจารณาหลักฐานและความเห็นของบรรดาอุละมาอ์ข้างต้น จะพบว่า การแลกเปลี่ยนของขวัญนั้น โดยเนื้อแท้แล้วเป็น ตะบัรรูอ์ (การทำความดี) ไม่ใช่ มุอาวะเฏาะฮ์ (การแลกเปลี่ยน) แม้ว่าจะมีการใช้ชื่อหรือรูปแบบที่คล้ายกับการแลกเปลี่ยนก็ตาม เนื่องจากมีหลักการที่ว่า
الْعِبْرَةُ بِالْمَقَاصِدِ وَالْمَعَانِي لَا بِالْفَاظِ وَالْمَبَانِي
(สิ่งที่ต้องพิจารณาคือเจตนาและความหมายของกิจกรรม ไม่ใช่เพียงคำพูดหรือรูปแบบโครงสร้างที่ใช้) ดังนั้น สิ่งที่ถือเป็นหลักสำคัญคือเจตนาและเนื้อแท้ของการให้ของขวัญในฐานะที่เป็น ตะบัรรูอ์ ไม่ใช่เพียงคำพูดหรือรูปแบบที่ใช้ในลักษณะของการแลกเปลี่ยน.
กิจกรรมแลกเปลี่ยนของขวัญนั้น โดยแท้จริงมีวัตถุประสงค์ทางสังคมและเพื่อความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง (อุคูวะฮ์) ไม่ใช่เพื่อการค้าหรือแสวงหากำไร กิจกรรมในลักษณะนี้ที่จัดขึ้นโดยโรงเรียนหรือชุมชนต่างๆ มีเป้าหมายเพื่อ تَأْلِيفُ الْقُلُوبِ (การเชื่อมใจให้ใกล้ชิดกัน) เพื่อให้อุคูวะฮ์มีความเข้มแข็ง หรือเพื่อขจัดต้นตอของ تَنَازُع (ความขัดแย้ง).
ส่วนการจับฉลากที่ใช้ในกิจกรรม تبادل الهدايا ตะบาดุลฮะดายา (การแลกเปลี่ยนของขวัญ) นั้น เป็นเพียงเครื่องมือในการแบ่งของขวัญ ไม่ใช่เพื่อ التَّكَسُّب ตะกัสสูบ (การแสวงหากำไร) หรือ جامع المال ญามิอุลมาล (การสะสมทรัพย์สิน) เหมือนที่เกิดขึ้นในการพนัน ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้จะได้รับของขวัญ เพราะเนื้อแท้ของกิจกรรมคือการให้และการรับซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การเสี่ยงโชคที่มีผู้ชนะเพียงบางคน การจับฉลากในกรณีนี้เป็นเพียงวิธีการแบ่งของขวัญ เช่นเดียวกับการแบ่งของขวัญโดยผู้นำ เช่นในกรณีของท่านอบูอุบัยดะฮ์ บินอัลญัรรอห์ ในเรื่องราวข้างต้น ซึ่งเป็นเพียงวิธีการแบ่งปันเท่านั้น. โดยสรุปคือ ทุกคนจะได้รับส่วนแบ่งอย่างแน่นอน.
แม้ว่า กิจกรรมแลกเปลี่ยนของขวัญ โดยเนื้อแท้จะเป็น تَبَرُّع ตะบัรรุอ์ (การบริจาค) และไม่มีปัญหากับการมี غَرَر ฆอเราะร์ (ความไม่แน่นอน) รวมถึงการจับฉลากเพื่อแบ่งของขวัญให้กับแต่ละคน แต่เพื่อหลีกเลี่ยง اخْتِلَاف อิคติลาฟ (ความขัดแย้งทางความเห็น) จึงควรให้ความสำคัญกับประเด็นดังต่อไปนี้:
- ควรชี้แจงและทำให้ผู้เข้าร่วมทุกคนเข้าใจ ว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนของขวัญเป็นการให้ของขวัญซึ่งกันและกันด้วยความสมัครใจและมุ่งเน้นที่การทำความดี تَبَرُّع (ตะบัรรุอ์)
- ยืนยันว่าความตั้งใจของผู้เข้าร่วมทุกคนคือการให้ ไม่ใช่เพื่อหวังผลกำไร หรือชนะการจับฉลาก โดยควรมั่นใจว่าจุดประสงค์หลักของกิจกรรมนี้คือ تَأْلِيفُ القُلُوب ตะอ์ลีฟุลกุลูบ (การกระชับความสัมพันธ์ในจิตใจ) เสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง หรือ ความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน تَعَاوُن และ تَكَافُل (ตะอาวุนและตะกาฟุล)
- กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมพยายามมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับพี่น้องของตน ตามความสามารถของตน.
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ‘แลกเปลี่ยนของขวัญ’ และเปลี่ยนไปใช้คำว่า تَهَادِي ตะฮาดี ซึ่งหมายถึงการมอบของขวัญให้กันและกันตามที่ระบุไว้ในหะดีษ หรือคำว่า تَبَاذُل ตะบาซุล ซึ่งมีความหมายว่าให้ของขวัญซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับที่อนัส –รอดิยัลลอฮุอันฮุ– ได้ปฏิบัติ
- หากวิธีการจับฉลากดูเหมือนการพนัน ควรเปลี่ยนเป็นวิธีที่ครู, คณะกรรมการ, หรือผู้นำเป็นผู้แบ่งของขวัญให้กับผู้เข้าร่วมทุกคน เช่นเดียวกับที่อุบัยดะห์ บิน อัลญัรรอห์เคยปฏิบัติไว้.
- มีนักวิชาการบางท่านมองว่า ของขวัญนั้นต้องมีการกำหนดราคาไว้หรือกำหนดราคาขั้นต่ำ เช่น สินค้าที่มีราคาต่ำกว่า 100 บาท, ถ้าราคาสินค้าสูงกว่านั้น ก็สามารถทำได้โดยผู้ให้ต้องยินยอมและพอใจในมูลค่าของขวัญนั้น. (ผู้แปลและเรียบเรียง)
وَاللَّهُ أَعْلَمُ بِالْصَّوَابِ (และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่ถูกต้อง)
อ้างอิงจาก:
Dr. Ahmad Djalaluddin, Lc., MA
KPS Magister Ekonomi Syariah UIN Maulana Malik Ibrahim Malang
www.tazkiyatuna.com
แปลและเรียบเรียงโดย: อ.สมาน เลาะ