samanloh.com ปัญหาศาสนา หุก่มการกล่าวซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข) แด่ท่านนบี ﷺ ด้วยเสียงดังเป็นกลุ่ม

หุก่มการกล่าวซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข) แด่ท่านนบี ﷺ ด้วยเสียงดังเป็นกลุ่ม

หุก่มการกล่าวซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข) แด่ท่านนบี ﷺ ด้วยเสียงดังเป็นกลุ่ม post thumbnail image

ความประเสริฐของการซอลาวาตแด่ท่านนบีﷺ:

การกล่าวซอลาวาต (ประสาทพร) และกล่าวสันติแด่ท่านนบีมูฮัมหมัด ﷺ นับเป็นหนึ่งในการอิบาดะฮ์, เป็นการแสดงความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ, และเป็นการเคารพภักดี(ตออัต)ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด; อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า:

﴿إِنَّ اللهَ وَمَلَائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ يَاأَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا﴾

(อัล-อะห์ซาบ: 33/56).

ความว่า: “แท้จริงอัลลอฮฺและบรรดามะลาอิกะห์(เทวทูต)ของพระองค์ได้ซอลาวาต (ขอพรและสันติสุข)ให้แก่ท่านนบี โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายเอ๋ย! พวกเจ้าจงซอลาวาตและกล่าวสันติให้แก่ท่านนบีเถิด”

ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ (ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงโปรดปรานต่อเขาทั้งสอง) รายงานว่าท่านนบีมูฮัมหมัด ﷺ กล่าวว่า:

«مَنْ صَلَّى عَلَيَّ صَلَاةً صَلَّى الله عَلَيْهِ بِهَا عَشْرًا»
ความว่า: “ผู้ใดกล่าวซอลาวาตให้ฉันหนึ่งครั้ง อัลลอฮฺจะประสาทพรให้เขาสิบครั้ง”
(บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิมใน “ศอเฮียะห์”)

การกล่าวซอลาวาตและรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เป็นคำสั่งใช้ [الأمر الشرعي] {1}ที่กล่าวไว้โดยทั่วไป(مطلق)และจากหลักการแล้วالأمر المطلق]] {1}(คำสั่งที่ไม่มีข้อจำกัด) เป็นคำสั่งที่กล่าวอย่างทั่วไปจะครอบคลุมถึงทุกช่วงเวลา ทุกสถานที่ ทุกบุคคล และทุกสภาพ ดังนั้นเรื่องนี้กว้างขวางมาก หากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ตรัสคำสั่งหนึ่งอย่างไม่ระบุรายละเอียดมากมาย วิธีการปฏิบัติสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งเราต้องเข้าใจคำสั่งนั้นตามความกว้างขวางของมัน และไม่ควรจำกัดการปฏิบัติเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งเว้นแต่มีหลักฐานที่ชัดเจน.

อิหม่ามอิบนุ อาบิดีน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “رد المحتار” (เล่มที่1 หน้า 518 พิมพ์ที่: دار الفكر ) ว่า:

[(قوله: ومستحبة في كلِّ أوقاتِ الإمكان) أي: حيث لا مانع]

แปลว่า: [(คำกล่าว: “และการกล่าวซอลาวาตนั้นเป็นสิ่งที่สุนัต(มุสตะฮับ)ในทุกเวลาที่สามารถทำได้) หมายถึง: เมื่อไม่มีสิ่งใดมาขัดขวาง]

ศาสนาที่ทรงเกียรติได้สนับสนุนให้มีการรวมตัวกันเพื่อระลึกถึงอัลลอฮฺ และมีหลักฐานที่สนับสนุนเรื่องนี้

(หมายถึง ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้มุสลิมมารวมตัวกันเพื่อทำการซิกรุลลอฮฺ (การระลึกถึงอัลลอฮฺ) และมีหลักฐานจากคำสอนของศาสนาที่รองรับการกระทำนี้.-ผู้แปล)

และหลักฐานทางศาสนาได้มาจากอัลกุรอานและสุนนะห์ของท่านนบี ที่สนับสนุนอย่างชัดเจนในการส่งเสริมการรวมตัวเพื่อระลึกถึงอัลลอฮฺ และการรวมตัวกันในเรื่องนี้; หนึ่งในนั้นคือพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ตรัสกับศาสดาผู้ทรงเกียรติ ﷺ ของพระองค์

(หมายถึง ทั้งอัลกุรอานและคำสอนของท่านศาสดามูฮัมหมัดได้กล่าวถึงการสนับสนุนให้มีการรวมตัวกันเพื่อทำการซิกรุลลอฮฺ (การระลึกถึงอัลลอฮฺ) โดยยกตัวอย่างคำตรัสของอัลลอฮ์ที่มีต่อท่านนบี.-ผู้แปล) อัลลอฮฺได้ทรงตรัสว่า:

﴿وَاصْبِرْ نَفْسَكَ مَعَ الَّذِينَ يَدْعُونَ رَبَّهُمْ بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِيِّ يُرِيدُونَ وَجْهَهُ﴾ [الكهف: 28]

ความว่า: “และจงอดทนต่อตัวของเจ้า ร่วมกับบรรดาผู้วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ทั้งยามเช้าและยามเย็น โดยปรารถนา ความโปรดปรานของพระองค์”
“(อัลกะห์ฟ: 28)

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ (ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงโปรดปรานต่อเขา) ได้รายงานว่าท่านรอซูล ﷺ ได้กล่าวว่า:

«يَقُولُ اللهُ تَعَالَى: أَنَا عِنْدَ ظَنِّ عَبْدِي بِي، وَأَنَا مَعَهُ إِذَا ذَكَرَنِي، فَإِنْ ذَكَرَنِي فِي نَفْسِهِ ذَكَرْتُهُ فِي نَفْسِي، وَإِنْ ذَكَرَنِي فِي ملأٍ ذَكَرْتُهُ فِي ملأٍ خَيْرٍ مِنْهُمْ»

“อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า: ข้าพเจ้าอยู่กับผู้ที่รำลึกถึงข้าพเจ้า, และข้าพเจ้าอยู่กับเขาเมื่อเขารำลึกถึงข้าพเจ้า หากเขารำลึกถึงข้าพเจ้าในใจของเขาข้าพเจ้าก็จะรำลึกถึงเขาด้วยข้าพเจ้าเอง และหากเขารำลึกถึงข้าพเจ้าในกลุ่มชน ข้าพเจ้าก็จะรำลึกถึงเขาในกลุ่มที่ดีกว่าพวกเขา”
(บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิมใน “ศอเฮียะห์”)

(หะดิษนี้แสดงถึงความสำคัญของการระลึกถึงอัลลอฮ์ ทั้งในที่ส่วนตัวและในที่สาธารณะ โดยอัลลอฮ์จะตอบสนองต่อการกระทำดังกล่าวของบ่าวของพระองค์.- ผู้แปล)

การซิกรุลลอฮฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) ในกลุ่มชุมนุมนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เว้นแต่จะต้องทำด้วยเสียงดัง ฮาฟิซซิยูตี้ได้กล่าวในหนังสือ “نتيجة الفكر في الجهر بالذكر” ว่า:

وَالذِّكْرُ فِي المَلَأِ لا يَكُونُ إِلَّا عَنْ جَهْرٍ؛

แปลว่า: “การซิกรุลลอฮฺในกลุ่มคนนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เว้นแต่ควรทำด้วยการกล่าวเสียงดังอย่างเปิดเผย

ท่านอบูฮุรอยเราะห์และท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ (ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงโปรดปรานต่อพวกเขาทั้งสอง) รายงานว่าเขาทั้งสองได้ยินท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า:

«لَا يَقْعُدُ قَوْمٌ يَذْكُرُونَ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا حَفَّتْهُمُ الْمَلَائِكَةُ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ، وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِينَةُ، وَذَكَرَهُمُ اللهُ فِيمَنْ عِنْدَهُ»

ความว่า: “ไม่มีกลุ่มใดที่นั่งรำลึกถึงอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง เว้นแต่บรรดามะลาอิกะห์จะโอบล้อมพวกเขา และความเมตตาจะแผ่ปกคลุมพวกเขา และความสงบสุขจะประทานลงมายังพวกเขา และอัลลอฮฺจะทรงกล่าวเอ่ยถึงพวกเขาในหมู่ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดพระองค์”

(บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม)

(หะดิษนี้แสดงถึงความประเสริฐของการรวมตัวกันเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ โดยระบุถึงผลบุญและบารอกะห์ที่มุสลิมจะได้รับจากการกระทำดังกล่าว.-ผู้แปล)

ไม่ว่าชนกลุ่มใดที่ได้รวมตัวกันเพื่อทำซิกรุลลอฮฺ ณ พวกเขาเหล่านั้น จะมีมลาอิกะฮฺมาห้อมล้อมเพื่อแสดงความยินดี มอบความเมตตา และความสุขสงบให้แก่พวกเขา

การชี้แจงถึงความชอบธรรมการซิกรุลลอฮฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) ด้วยเสียงดังเป็นกลุ่ม

นักวิชาการได้กำหนดถึงบัญญัติ (มัชรูอฺ)การซิกรุลลอฮฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) ด้วยเสียงดัง โดยเฉพาะเมื่อผู้กล่าวซิกรุลลอฮฺเป็นกลุ่ม:

อิหม่ามอิบนุ อะฏออิลลาฮฺ อัลอิสกันดารี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ مفتاح الفلاح ومصباح الأرواح (หน้า 13, สำนักพิมพ์อัลซาอาดะห์) ว่า:

[وإن كان الذاكرون جماعة، فالأولى في حقِّهم رفع الصوت بالذِّكر، مع توافق الأصوات بطريقةٍ موزونةٍ]

แปลว่า: “และหากผู้ที่กล่าวซิกรุลลอฮฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) เป็นกลุ่ม สิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเขาคือการเปล่งเสียงในการซิกรุลลอฮฺ โดยให้เสียงสอดคล้องกันในลักษณะที่มีจังหวะที่เหมาะสม”

(หมายความว่า หากมีการระลึกถึงอัลลอฮ์เป็นกลุ่ม การเปล่งเสียงร่วมกันเป็นสิ่งที่เหมาะสมและควรทำอย่างเป็นระเบียบและสอดคล้องกัน – ผู้แปล)

และอิหม่ามอัซซุยุตีย์ได้กล่าวในหนังสือ تعريف الفئة بأجوبة الأسئلة المائة (เล่ม 2 หน้า 376) ในคำตอบของคำถามที่ 33 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรวบรวมหลักฐานที่กล่าวถึงการทำเสียงเบา (الإسرار) และหลักฐานที่กล่าวถึงการทำเสียงดัง (الجهر) ว่า:

[الذاكرين إذا كانوا مجتمعِين على الذكر، فالأولى في حقهم رفع الصوت بالذكر والقوة، وأما إذا كان الذاكر وحده: فإن كان من الخاص؛ فالإخفاء في حقِّه أولى، وإن كان من العام، فالجهر في حقِّه أفضل]

แปลว่า: ผู้ที่ซิกรุลลอฮฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) หากพวกเขารวมตัวกันเพื่อทำการซิกรุลลอฮฺ การเปล่งเสียงซิกรุลลอฮฺด้วยความเข้มแข็งถือเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเขา แต่หากผู้ซิกรุลลอฮฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ)ทำคนเดียว: ถ้าเป็นการระลึกถึงเฉพาะส่วน การปกปิดเสียง(ซิกรุเบาๆ)ถือเป็นสิ่งที่ดีกว่า แต่ถ้าเป็นการซิกรุลลอฮฺที่เปิดเผย การเปล่งเสียงถือเป็นสิ่งที่ดีกว่า.

ความชอบธรรมในการเปล่งเสียงดังในการกล่าวซาละวาต (ประสาทพร) แด่ท่านนบี ﷺ เป็นกลุ่ม

การรวมตัวกันเพื่อกล่าวซอลาวาตแด่ท่านนบี ﷺ อย่างดังนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของท่านนบี ﷺ ที่สั่งให้มุสลิมทั้งหลายอย่าให้การรวมตัวและการชุมนุมของพวกเขาปราศจากการกล่าวซอลาวาตแด่ท่านนบี ﷺ มิเช่นนั้นจะเป็นความเสียใจในวันกิยามะฮ์ ดังที่มีรายงานหะดีษจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ (ขอให้พระองค์อัลลอฮฺทรงโปรดปรานต่อเขา)) ว่าท่านนบี ﷺ ได้กล่าวว่า:

«مَا جَلَسَ قَوْمٌ مَجْلِسًا لَمْ يَذْكُرُوا اللَّهَ فِيهِ، وَلَمْ يُصَلُّوا عَلَى نَبِيِّهِمْ، إِلَّا كَانَ عَلَيْهِمْ تِرَةً، فَإِنْ شَاءَ عَذَّبَهُمْ وَإِنْ شَاءَ غَفَرَ لَهُمْ»

“ไม่มีกลุ่มคนกลุ่มใดที่นั่งพูดคุยกันโดยไม่ได้ระลึกถึงอัลลอฮฺในที่นั่งนั้น และไม่ได้ส่งซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข)ให้กับนบีของพวกเขา นอกจากว่า (การประชุม) นั้นจะเป็นความน่าเศร้าสำหรับพวกเขา หากพระองค์ต้องการ พระองค์ก็จะลงโทษพวกเขา และถ้าพระองค์ต้องการ พระองค์ก็จะให้อภัยพวกเขา”

(หะดิษนี้เตือนให้เราใส่ใจในการระลึกถึงอัลลอฮฺและส่งสลามให้กับนบีในทุกๆ การประชุม เพื่อให้การประชุมนั้นมีความหมายและได้รับการอภัยจากอัลลอฮฺ. -ผู้แปล)
รายงานนี้อยู่ในหนังสือหะดีษของอัตติรมีซีย์ “السنن” ซึ่งกล่าวว่า: “หะดีษนี้เป็นหะดีษหะซัน (ดี) “และความหมายของคำว่า ‘تِرَة’ คือ ความเสียใจและความเสียดาย”

(หมายถึงว่า การนั่งประชุมหรือการพูดคุยที่ไม่ได้นำเสนอการระลึกถึงอัลลอฮฺและการส่งซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข)ให้กับนบีจะนำมาซึ่งความเสียใจและความเสียดายต่อผู้ที่มีส่วนร่วมในนั้น.-ผู้แปล)

ถ้อยคำของการห้ามมิให้ละเว้นการกล่าวซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข) แด่ท่านนบีในที่ประชุมนั้นเป็นคำสั่งในลักษณะที่เป็นทั่วไป นอกจากนี้ หากที่ประชุมที่ปราศจากการกล่าวซอลาวาตจะเป็นความเสียใจสำหรับผู้ที่เข้าร่วม ที่ประชุมที่มีการกล่าวซอลาวาตจะเป็นที่ตั้งแห่งความเมตตาและความพึงพอใจจากอัลลอฮฺตะอาลา และเป็นที่ที่ท่านนบี ﷺ จะให้ความสนใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านนบีﷺ ใช้คำว่า “القوم” (กลุ่มชน) ซึ่งหมายถึงการรวมตัวเป็นกลุ่ม.

แน่นอนว่า การชุมนุมเพื่อการกล่าวซิกรุลลอฮฺ (การระลึกถึงอัลลอฮฺ) เป็นการชุมนุมที่เหล่ามลาอิกะฮ์ผู้ทรงเกียรติมาร่วมเป็นพยาน อีกทั้งยังเป็นแหล่งของบารอกัต(ความจำเริญ) และผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมจะได้รับการยอมรับ ความเมตตา และการอภัยโทษ ดังที่มีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะห์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่าท่านเราะซูลุลลอฮฺ ﷺ กล่าวว่า:

«إن لله سيارة من الملائكة، إذا سمعوا حِلَق الذكر قال بعضهم: اقعدوا فإذا دعا القومُ أمَّنوا على دعائهم، فإذا صلَّوْا على النبي صلى الله عليه وآله وسلم صلوا معهم حتى يفرغوا، ثم يقول بعضهم لبعض: طوبى لهؤلاء يرجعون مغفورًا لهم»

“แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺมีกลุ่มของมลาอิกะฮฺ เมื่อพวกเขาได้ยินการนั่งรวมกลุ่มเพื่อการซิกรุลลอฮฺ (การระลึกถึงอัลลอฮฺ) บางกลุ่มจะกล่าวว่า: ‘พวกท่านจงนั่งรอ’ และเมื่อกลุ่มคนนี้ได้ทำการดุอาอฺ (ขอพร) พวกเขาก็จะอามีนต่อดุอาอฺของพวกเขา และเมื่อพวกเขาส่งซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข)ให้กับนบี (صلى الله عليه وآله وسلم) มลาอิกะฮฺก็จะส่งซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข) ร่วมกับพวกเขาจนกระทั่งพวกเขาเสร็จสิ้น จากนั้นพวกเขา(มลาอิกะฮฺ)จะกล่าวซึ่งกันและกันว่า: ‘ขอแสดงความยินดีกับพวกเขาเหล่านี้ที่จะกลับไปพร้อมกับการอภัยโทษสำหรับพวกเขา'”

รายงานนี้มาจากอบุลกอซิม อัตติรมีมีย์ ในหนังสือ “الترغيب والترهيب”

(จากคำกล่าวดังกล่าวนี้ เราสามารถตอบคำถามที่มีมาได้ว่า การชุมนุมและการระลึกถึงอัลลอฮฺนั้นจะนำพามาซึ่งบารอกัต ความเมตตา และการอภัยโทษ.-ผู้แปล)

จากสิ่งที่ได้กล่าวมานั้น คำตอบต่อคำถามที่ได้ถามมาก็เป็นที่ทราบแล้ว

และอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงรู้ดีที่สุด.

บทความนี้ได้รับการแปลและเรียบเรียงโดย อ.สมาน เลาะ


ที่มา: https://www.dar-alifta.org/

{1} คำว่า “الأمر الشرعي” (อัล-อามร์ ชัรอี) และ “الأمر المطلق” (อัล-อามร์ มุฏลัก) เป็นแนวคิดในอุสูลฟิกฮ์อิสลามที่ใช้เพื่ออธิบายประเภทของคำสั่งในศาสนาอิสลาม ต่อไปนี้คือความหมายและความแตกต่างของทั้งสองคำ:

  1. الأمر الشرعي (อัล-อามร์ ชัรอี):
    • เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮ์หรือศาสดามูฮัมหมัด (صلى الله عليه وسلم) ผ่านกฎหมายอิสลาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ต้องทำ หรือต้องห้ามในชีวิตประจำวันของมุสลิม
    • ตัวอย่าง: การสั่งให้ทำการละหมาด (เช่นในอัลกุรอาน: “وَأَقِيمُوا الصَّلَاةَ”) การสั่งให้จ่ายซะกาต หรือการสั่งให้ถือศีลอด
    • การปฏิบัติตาม: คำสั่งนี้ถือว่าผูกพันกับมุสลิม และการไม่ปฏิบัติตามอาจมีผลที่ตามมาในโลกนี้หรือในโลกหน้า ตามหลักการของศาสนา
  2. الأمر المطلق (อัล-อามร์ มุฏลัก):
    • เป็นคำสั่งที่ถูกกล่าวโดยไม่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใดๆ ไม่จำกัดเวลา วิธีการ หรือสถานที่เฉพาะ หมายความว่ามุสลิมสามารถทำตามคำสั่งนี้ได้ตามรูปแบบที่ต้องการ ตราบใดที่มันบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
    • ตัวอย่าง: ถ้ามีคำสั่งให้ละหมาดโดยไม่มีการจำกัดเวลา มุสลิมสามารถทำการละหมาดได้ตลอดเวลา (เว้นแต่จะมีข้อความต่อไปที่กำหนดเวลาเฉพาะ)

***คำอธิบายของข้อความนี้จากนักวิชาการอิสลามมีความหมายดังนี้:

  1. وأما إذا كان الذاكر وحده: فإن كان من الخاص؛ فالإخفاء في حقِّه أولى
    • ความหมาย: หากผู้ที่ทำการซิกรุลลอฮฺ (ระลึกถึงอัลลอฮฺ) นั้นทำคนเดียว และถ้าเขาเป็นบุคคลเฉพาะ หรือในสถานการณ์ที่เป็นส่วนตัว (เช่น เมื่อเขาอยู่ในที่ส่วนตัว ไม่ต้องการให้คนอื่นได้ยินหรือรู้) การทำซิกรุลลอฮฺด้วยเสียงเบาหรือภายในจิตใจจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า
    • เหตุผล: การทำซิกรุลลอฮฺในที่ส่วนตัวหรือกับบุคคลเฉพาะบางครั้งอาจเน้นไปที่การมีสมาธิและความตั้งใจ (อิคลาศ) ซึ่งการทำเสียงเบาอาจช่วยในการรักษาสมาธิได้มากกว่า
  2. وإن كان من العام، فالجهر في حقِّه أفضل
    • ความหมาย: แต่ถ้าผู้ทำซิกรุลลอฮฺนั้นเป็นบุคคลทั่วไป (เช่น ทำในที่สาธารณะหรืออยู่กับคนหมู่มาก) การทำซิกรุลลอฮฺด้วยการกล่าวเสียงดังจะดีกว่า
    • เหตุผล: การทำซิกรุลลอฮฺในที่สาธารณะด้วยการยกเสียงขึ้น อาจช่วยกระตุ้นคนรอบข้างให้ร่วมระลึกถึงอัลลอฮฺด้วยกัน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสังคมในการสนับสนุนและเสริมสร้างอีหม่าน (ศรัทธา) แก่กันและกัน

สรุป: นักวิชาการแบ่งแยกการทำซิกรุลลอฮฺออกเป็นสองกรณี:

  • ในที่ส่วนตัว การทำซิกรุลลอฮฺเสียงเบาหรือภายในจิตใจนั้นดีกว่า เพราะช่วยเพิ่มสมาธิและความตั้งใจ
  • แต่ถ้าอยู่ในที่สาธารณะ การกล่าวซิกรุลลอฮฺด้วยเสียงดังจะดีกว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม

คำอธิบายนี้มาจากนักวิชาการอิสลามในตำราต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระลึกถึงอัลลอฮฺ (ซิกรุลลอฮฺ) และแนวทางปฏิบัติของการยกเสียงหรือทำเบา โดยมีนักวิชาการหลายท่านที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ เช่น:

  1. อิหม่ามอัซซุยุตีย์ ในหนังสือ “تعريف الفئة بأجوبة الأسئلة المائة” ซึ่งท่านได้ตอบคำถามเกี่ยวกับการซิกรุลลอฮฺเสียงดัง (جهر) และเสียงเบา (إسرار) ว่าในสถานการณ์ที่เป็นกลุ่มการยกเสียงจะดีกว่า แต่เมื่อทำคนเดียว การทำซิกรุลลอฮฺในสถานการณ์เฉพาะ (ส่วนตัว) จะดีกว่าที่จะทำเสียงเบา
  2. อิหม่ามอิบนุ อัล-ก็อยยิม ท่านกล่าวในหลายตำราว่า การซิกรุลลอฮฺสามารถทำได้ทั้งเสียงดังและเสียงเบา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หากการทำซิกรุลลอฮฺในที่สาธารณะจะเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นให้คนอื่นร่วมทำ ก็ควรยกเสียง แต่หากอยู่ในที่ส่วนตัว การทำเสียงเบาจะเป็นการรักษาความตั้งใจมากกว่า

ตำราต่างๆ เหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่อธิบายหลักปฏิบัติการซิกรุลลอฮฺอย่างละเอียด ในส่วนของการระลึกถึงอัลลอฮฺทั้งในรูปแบบกลุ่มและส่วนบุคคล

หากคุณต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลเฉพาะ สามารถอ้างอิงจากหนังสือที่กล่าวถึงข้างต้น เช่น “تعريف الفئة بأجوبة الأسئلة المائة” ของอิหม่ามอัซซิยูฏี

ทิ้งคำตอบไว้

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง