samanloh.com ปัญหาศาสนา มุสลิมสามารถกินหมูได้หรือไม่ในสถานการณ์วิกฤต? หลักการอิสลามกับการเอาชีวิตรอดในยามเฏาะรูเราะห์ (ภาวะอุกฤษฏ์)

มุสลิมสามารถกินหมูได้หรือไม่ในสถานการณ์วิกฤต? หลักการอิสลามกับการเอาชีวิตรอดในยามเฏาะรูเราะห์ (ภาวะอุกฤษฏ์)

มุสลิมสามารถกินหมูได้หรือไม่ในสถานการณ์วิกฤต? หลักการอิสลามกับการเอาชีวิตรอดในยามเฏาะรูเราะห์ (ภาวะอุกฤษฏ์) post thumbnail image

มุสลิมสามารถกินหมูได้หรือไม่ในสถานการณ์วิกฤต? หลักการอิสลามกับการเอาชีวิตรอดในเฏาะรูเราะห์ (ภาวะอุกฤษฏ์)

ในศาสนาอิสลาม การบริโภคหมูถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม หรือ “หะรอม” อย่างชัดเจนตามคัมภีร์อัลกุรอาน แต่มีกรณีที่ศาสนาอนุญาตให้ยืดหยุ่นได้ภายใต้สถานการณ์พิเศษ เช่น ภัยพิบัติหรือยามฉุกเฉิน โดยมีหลักการสำคัญที่เรียกว่า ضرورة อ่านว่า “เฏาะรูเราะห์” ซึ่งแปลว่า “ภาวะอุกฤษฏ์” เพื่อให้ความสำคัญกับการรักษาชีวิตเป็นอันดับแรก.

จากหลักการที่เป็นที่ยอมรับในศาสนาอิสลามและเป็นที่เห็นพ้องต้องกันของนักวิชาการ:

หลักการ الضَّرُورَاتُ تُبِيحُ الْمَحْظُورَاتِ หมายถึง: “ภาวะอุกฤษฏ์ทั้งหลายย่อมอนุญาตให้กระทำสิ่งต้องห้าม” 6.***

เป็นหลักการสำคัญในศาสนาอิสลามที่อนุญาตให้ละเมิดข้อห้ามในสถานการณ์ที่มีความจำเป็นสูงสุด ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้:

  1. การบริโภคเนื้อซากสัตว์ที่ตายเอง: อนุญาตให้บริโภคเนื้อซากสัตว์ที่ตายเองได้เมื่อไม่มีอาหารอื่นและความหิวเป็นอันตรายถึงชีวิต
  2. การพูดคำปฏิเสธศาสนา: อนุญาตให้พูดคำปฏิเสธศาสนาในกรณีที่ถูกทรมานหรือบังคับ
  3. การป้องกันตัวจากการโจมตี: อนุญาตให้ใช้ความรุนแรงเพื่อป้องกันตัวจากผู้ที่ทำร้ายหรือเป็นอันตราย ถึงแม้ว่าจะต้องฆ่าผู้กระทำความผิดก็ตาม

หลักการนี้ช่วยให้เข้าใจว่าความจำเป็นสามารถทำให้มีข้อยกเว้นจากข้อห้ามในสถานการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือความปลอดภัยของชีวิต.

ข้อห้ามและความจำเป็นของการบริโภคหมูในอิสลาม
เนื้อหมูถูกระบุว่าเป็นอาหารต้องห้ามสำหรับมุสลิมตามคัมภีร์อัลกุรอาน เช่นในอายะห์หนึ่งจากซูเราะห์ อัล-บะเกาะเราะฮฺ (อายะห์ที่173) ซึ่งอัลลอฮได้ทรงตรัสว่า:

إِنَّمَا حَرَّمَ عَلَيْكُمُ ٱلْمَيْتَةَ وَٱلدَّمَ وَلَحْمَ ٱلْخِنزِيرِ وَمَآ أُهِلَّ بِه لِغَيْرِ ٱللَّهِ فَمَنِ ٱضْطُرَّ غَيْرَ بَاغٍ وَلَا عَادٍ فَلَآ إِثْمَ عَلَيْهِ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُور رَّحِيمٌ (البقرة:371 )١٧٣

ความว่า: “แท้จริง พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้าไว้แต่เพียงแต่ซากสัตว์ที่ตายเอง เลือด เนื้อสุกร และสิ่งที่ถูกบูชายัญให้แก่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ แต่ถ้าผู้ใดได้รับความคับขันไม่มีทางเลือก และมิได้มีความมุ่งหมายจะละเมิดหลักการของศาสนา ก็ไม่มีบาปอันใดเหนือเขาผู้นั้น แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ.”

ข้อนี้แสดงถึงการห้ามที่เข้มงวด แต่ก็มีการเปิดช่องให้ยืดหยุ่นได้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในศาสนาอิสลาม การรักษาชีวิตเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด.

ส่วนใหญ่ของนักวิชาการศาสนา (อุละมาอฺ) ได้ยกเว้นซากสัตว์น้ำ (ที่ตายเอง) จากข้อห้าม (เกี่ยวกับการกินซากสัตว์ที่ตายเอง) เนื่องจากอัลลอฮฺทรงตรัสว่า:

[المائدة: 96]﴿أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ وَطَعامُهُ﴾

ความว่า: ‘ได้ถูกอนุญาตแก่พวกเจ้าแล้วในการล่าสัตว์ทะเลและอาหารของมัน’ (อัล-มาอิดะฮ์: 96)

และจากหะดีษของอัลอันบัรที่ปรากฏในศอฮีหฺ, อัลมุสนัด, อัลมุวัฏเฏาะอฺ และอัลซุนัน ที่ท่านนบี ﷺ กล่าวว่าเกี่ยวกับทะเลว่า:

«هو الطهور ماؤه الحل ميتته»

ความว่า: “น้ำของมันนั้นสะอาด ซากสัตว์ของมันนั้นฮาลาล”

เมื่อสถานการณ์อุกฤษวิกฤตเกิดขึ้น
เมื่อมุสลิมต้องเผชิญกับวิกฤตเช่นน้ำท่วมหรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถหาอาหารฮะลาลได้ และชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยง การบริโภคเนื้อหมูหรืออาหารที่หะรอมอื่นๆ อาจเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ชั่วคราว แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้:

  1. จำเป็นต้องรักษาชีวิต: การบริโภคเนื้อหมูหรืออาหารหะรอมต้องเกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นในการรักษาชีวิต มุสลิมที่เผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่มีอาหารอื่นสามารถรับประทานได้ เพื่อให้ร่างกายยังคงดำเนินต่อไป.
  2. ควรหยุดเมื่อมีทางเลือกอื่น: เมื่อสถานการณ์วิกฤตผ่านไปแล้ว หรือเมื่อมีอาหารหะลาลอื่นให้เลือกใช้ การบริโภคอาหารที่หะรอมควรหยุดลงทันที เพื่อปฏิบัติตามหลักการเดิมของศาสนาอิสลาม.

หลักการของ “เฏาะรูเราะห์” (ภาวะอุกฤษฏ์)
ดะรูเราะห์ หมายถึง “สถานการณ์ที่จำเป็นหรือเหตุฉุกเฉิน ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะทำให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อชีวิตหรือสถานะที่สำคัญ” ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามหลักการอิสลามที่อนุญาตให้ละเมิดข้อห้ามในกรณีที่ชีวิตตกอยู่ในอันตราย ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ภัยพิบัติที่ทำให้มุสลิมไม่มีอาหารและขาดแคลนทรัพยากร อิสลามยอมให้บริโภคอาหารหะรอมชั่วคราวเพื่อรักษาชีวิต เนื่องจากชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺให้ความสำคัญอย่างยิ่ง.

การอนุญาติสิ่งที่หะรอมในกรณี เฏาะรูเราะห์ (ภาวะอุกฤษฏ์) ต้องเป็นไปตามสามเงื่อนไขคือ:

  1. ไม่มีทางเลือกอื่น: หมายถึงผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์นั้นต้องไม่มีอาหารอื่นใดที่สามารถบริโภคได้
  2. สามารถรักษาชีวิตได้: หากการบริโภคอาหารที่หะรอมไม่สามารถรักษาชีวิตได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำเพิ่มขึ้นแทนที่จะช่วย ก็ไม่อนุญาตให้บริโภค.
  3. ไม่เกินความจำเป็น: อนุญาตให้กินหมูหรือสิ่งที่หะรอม แต่จะต้องกินเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้มีชีวิตรอดเท่านั้น ไม่กินจนอิ้มเกินความจำเป็น หลักการนี้คือ “الضرورات تَقَدَّر بقَدْرِها” หมายถึง “ภาวะอุกฤษฏ์ทั้งหลายจะถูกประเมินกำหนดตามขนาดของความจำเป็นของมันแค่ไหนก็แค่นั้น”.

บทสรุป
ในศาสนาอิสลาม การรักษาชีวิตเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ซึ่งหลักการนี้ถูกใช้ในการพิจารณากฎเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ต้องห้ามเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การอนุญาตให้บริโภคเนื้อหมูหรืออาหารฮะรอมในสถานการณ์วิกฤตจึงเป็นการยืดหยุ่นตามหลักการเฏาะรูเราะห์ (ภาวะอุกฤษฏ์) แต่เมื่อล่วงเลยช่วงวิกฤตไปแล้วหรือมีอาหารอื่นที่ฮะลาลให้บริโภค ควรกลับไปปฏิบัติตามข้อห้ามตามปกติ.

บทความนี้ได้รับการเรียบเรียงและนำเสนอโดย อ.สมาน เลาะ

แหล่งอ้างอิง

  1. อัลกุรอาน ซูเราะห์ อัล-บะเกาะเราะฮฺ (173)
  2. كتاب تفسير ابن كثير – ط العلمية, เล่มที่ 1 หน้า 350
  3. كتاب الأشباه والنظائر – ابن نجيم, หน้า 73
  4. الإسلام سؤال وجواب
  5. كتاب القواعد الفقهية وتطبيقاتها في المذاهب الأربعة, เล่มที่ 1หน้า 281
  6. *** ให้ความหมายโดย อ.อาลี เสือสมิง https://www.youtube.com/watch?v=WHQg5WGm8Gw

ทิ้งคำตอบไว้

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

การชุมนุมเพื่อซิกรุลลอฮฺและการรับบารอกัตจากอัลลอฮ

หุก่มการกล่าวซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข) แด่ท่านนบี ﷺ ด้วยเสียงดังเป็นกลุ่มหุก่มการกล่าวซอลาวาต (ขอพรและสลามสันติสุข) แด่ท่านนบี ﷺ ด้วยเสียงดังเป็นกลุ่ม

ความประเสริฐของการซอลาวาตแด่ท่านนบีﷺ: การกล่าวซอลาวาต ( […]